UNC YG

โรคกระดูกพรุน ใครว่าไม่อันตราย

โรคกระดูกพรุน ใครว่าไม่อันตราย

โรคกระดูกพรุน ใครว่าไม่อันตราย!!

อายุที่เพิ่มขึ้น เป็นสัญญาณเตือนให้รู้ว่าการซ่อมแซมตัวเองของร่างกายลดน้อยลงไปทุกที เช่นเดียวกับมวลกระดูกที่จะมีความหนาแน่นเต็มที่เมื่ออายุประมาณ 30 ปี จากนั้นก็จะค่อยๆ ลดลงอย่างต่อเนื่อง จึงไม่น่าแปลกใจที่ทำไมผู้สูงอายุหลายคนมีภาวะกระดูกพรุน

“กระดูกพรุน” เป็นภาวะที่เกิดจากการสลายตัวของเนื้อกระดูก ทำให้กระดูกมีความเปราะบาง แตกหักได้ง่าย เพียงแค่มีแรงกระแทกเบาๆ เช่น การบิดตัวผิดจังหวะ ไอจาม หรือลื่นล้ม ก็ทำให้กระดูกสะโพกหรือกระดูกสันหลังหักได้ ซึ่งภาวะเหล่านี้จะไม่ส่งสัญญาณใดๆ ส่วนใหญ่จะรู้ได้ก็ต่อเมื่อกระดูกหัก หรือกระดูกทรุดทำให้ตัวเตี้ยลงอย่างชัดเจน โดยพบว่า 1 ใน 2 ของผู้หญิง และ 1 ใน 5 ของผู้ชาย ที่อายุมากกว่า 50 ปี จะมีภาวะกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน

กระดูกพรุน ใครว่าไม่อันตราย

เพราะผู้ป่วยกระดูกพรุน กระดูกหักง่ายกว่าคนทั่วไป จึงเสี่ยงที่จะได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรง จากอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย หรือการใช้ชีวิตประจำวัน ยิ่งหากเคยกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุน จะยิ่งมีโอกาสสูงที่จะเกิดกระดูกหักครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 ตามมา ซึ่งอาจนำมาซึ่งความพิการและการเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป

รู้ตัวเร็ว โรคกระดูกพรุน ป้องกันได้

การเสื่อมสลายของเนื้อกระดูก จะเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยไม่มีอาการบ่งชี้ ไร้สัญญาณเตือน วิธีการที่ดีที่สุดที่จะรู้ได้ว่า คุณกำลังเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุนหรือไม่ และมากน้อยเพียงใด คือ “การตรวจมวลกระดูก”

การตรวจมวลกระดูก หรือ การตรวจดูความหนาแน่นของกระดูก (Bone densitometry) เป็นวิธีการตรวจที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะจะช่วยให้ทราบว่าสุขภาพของกระดูกมีความแข็งแรงในระดับใด และมีภาวะกระดูกพรุนหรือไม่ โดยการใช้รังสี X-ray พลังงานต่ำสะท้อนภาพเนื้อเยื่อกระดูก ซึ่งจะทราบผลการตรวจอย่างรวดเร็ว แม่นยำ และปลอดภัย

ซึ่งจะใช้เวลาในการตรวจประมาณ 10-15 นาทีเท่านั้น ไม่นานก็เรียบร้อย


ใครบ้างที่ควรตรวจความหนาแน่นกระดูก

 +สตรีวัยหมดประจำเดือน
 +ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป
 +ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน
 +ผู้ที่มีรูปร่างผอม ยิ่งผอมมากยิ่งเสี่ยงมาก
 +ผู้ที่ใช้ยาสเตียรอยด์ (Steroid) ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
 +ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ดื่มแอลกอฮอล์บ่อย สูบบุหรี่จัด ชอบดื่มชา กาแฟ และน้ำอัดลม รวมทั้งผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย


ป้องกันอย่างไรให้ห่างไกลกระดูกพรุน

+รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
+รับประทานอาหารที่ให้แคลเซียม
+ทานอาหารที่มีวิตามินดี เพื่อช่วยในการดูดซึมแคลเซียม
+ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์
+หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่
+ตรวจสุขภาพและตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกอย่างน้อยปีละครั้ง


UNC CALCIUM PLUS

คุณประโยชน์ UNC Calcium 1 แคปซูล เท่ากับทานปลา 100 ตัว ผลิตจากธรรมชาติ 100 %“ยู เอ็น ซีแคลเซียม”มีชื่อเสียงในเรื่องของการปกป้องกระดูกและฟันมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างและซ่อมแซมกระดูกให้มีความแข็งแรงอีกทั้งร่างกายสามารถดูดซึมได้ดีมีส่วนประกอบจากก้างปลาหัวปลากระดูกอ่อนจากปลาฉลามคอลลาเจนและส่วนประกอบด้วยแร่ธาตุจากธรรมชาติมากกว่า 13 ชนิด ที่เป็นวัตถุดิบในการช่วยเสริมสร้างมวลกระดูกและลดภาวะที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนและกระดูกบางทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมได้ดีไม่มีสารตกค้างในร่างกายไม่มีผลต่อกระบวนการย่อยอาหาร ท้องไม่อืดหรือท้องผูกรวมไปถึงยังมีวัตถุดิบอื่น ๆ ที่ช่วยในการกระตุ้นการทำงานของแคลเซียมให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

คุณประโยชน์ของ ยู เอ็น ซี แคลเซียม

1.ร่างกายสามารถดูดซึมได้ดีไม่มีสารตกค้างในร่างกาย
2.บำรุงอาการ ปวดข้อ ปวดกระดูก
3.ลดภาวะเสี่ยงการกระดูกพรุน กระดูกบาง
4.ไม่ทำให้เกิดอาการท้องอืดท้องผูก
5.ผลิตโดยกรรมวิธีธรรมชาติ
6.มีวิตามิน แร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย
7.ช่วยให้นอนหลับสบาย
 
 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้