UNC YG
สาเหตุของ อาการปวดคอ
1. นั่งทำงานด้วยโต๊ะและเก้าอี้ที่ไม่ได้ระดับสัมพันธ์กับสรีระร่างกาย
2. เอียงคอคุยโทรศัพท์เป็นเวลานาน
3. ทำงาน/เล่นคอมพิวเตอร์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน
4. นอนคว่ำหน้าเป็นประจำหรือเงยคอต่อเนื่องเป็นเวลานานสาเหตุดังกว่าพบได้ทุกเพศทุกวัย มักมีอาการปวดกล้ามเนื้อแถวคอและสะบักในด้านที่ใช้งานบ่อยๆ
5. ความเครียด ทำให้กล้ามเนื้อคอหดเกร็งนานผิดปกติ มีอาการปวดคอแลศีรษะแถวท้ายทอยได้
6.อุบัติเหตุ ภาวะดังกล่าวทำให้คอต้องเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว เอ็นหรือกล้ามเนื้อต้องถูกยืดอย่างมากจนเกิดอาการฉีกขาด
เกิดอาการปวดและกล้ามเนื้อหดเกร็งจนเคลื่อนไหวไม่ถนัด หรือถ้าเกิดอุบัติเหตุรุนแรงอาจมีกระดูกคอหัก หรือ เคลื่อนได้
7. สายตาผิดปกติ
8. ภาวะข้อเสื่อม ข้ออักเสบ พบได้เมื่อมีอายุมากขึ้น กระดูกและข้อต่อจะมีหินปูนมาพอกหรือมีโรคข้อบางชนิด
อาการปวดคอเนื่องจาก กระดูกคอเสื่อม
1. ปวดคอ เคลื่อนไหวตัวได้ยาก และจะปวดมากขึ้นเวลานั่งหรือยืน
2. ปวดตรงกลางคอ ร้าวมาปวดที่สะบักด้านในบริเวณไหล่
3. ปวดร้าวลงแขนที่มือ แล้วมีอาการชาร่วมด้วย”
ลักษณะอาการของโรคกระดูกคอเสื่อม เมื่อเกิดขึ้น หินปูนที่เกาะกระดูกและเอ็นจะไปกดเส้นประสาท
ทำให้เกิดอาการ ปวดคอร้าวไปยังแขนและเกิดอาการชาที่แขน มักปวดหลังคอบริเวณ 2 ข้างของกระดูกสันหลัง อาจปวดร้าวขึ้นไปถึงท้ายทอย หรือ ลงมาบริเวณสะบัก และปวดมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวหรือออกแรง ถ้าไม่มีการปวดร้าวมาที่แขน แสดงว่ายังไม่มีการกดเส้นประสาท แต่จะปวดกระดูกและข้อต่าง ๆ ในกระดูกสันหลัง ซึ่งมีการเสื่อมสภาพไป
5 วิธีป้องกัน อาการปวดต้นคอ และ กระดูกคอเสื่อม
1. ในแต่ละวันของการทำงาน ไม่ควรก้มหน้านานเกินไป ทุกๆ 30 นาทีและไม่ควรก้มๆ เงยๆ คอมากเกินไป จะทำให้เกิดอาการปวดคอได้
2. ไม่ควรคุยโทรศัพท์โดยแนบไว้ระหว่างไหล่กับหู
3. ควรเปิดลำโพงหรือใช้หูฟังในการคุยโทรศัพท์แทน
4. ไม่ควรแบกหรือสะพายกระเป๋าหนักๆ ไว้บนไหล่ เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง
5. ควรนอนให้ศีรษะและคออยู่ในแนวเดียวกับร่างกาย โดยใช้หมอนเล็กๆ รองคอไว้นอนราบให้หลังติดที่นอนและใช้หมอนรองต้นขาให้สูงขึ้นทางที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยงโรคกระดูกคอเสื่อม คือการป้องกันเสียตั้งแต่ต้น โดยหมั่นบริหารร่างกายให้มีคอที่แข็งแรงเพื่อลดความตึงตัวของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อบริเวณคอ ขณะเดียวกันก็จำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนอิริยาบถต่างๆ ในชีวิตประจำวันให้เหมาะสมควบคู่ไปด้วย เพราะถึงแม้ว่าโรคกระดูกคอเสื่อมจะเป็นภาวะที่เกิดขึ้นตามวัย แต่เราก็อาจลดความเสี่ยงลงได้ด้วยการดูแลตัวเองการรับประทานแคลเซียมเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ป้องกัน กระดูกเสื่อม