UNC YG
สาเหตุของ โรคกระดูกพรุน
1.อายุ
ด้วยวัยที่เพิ่มมากขึ้น กระบวนการเจริญเติบโตของร่างกายจะเริ่มช้าลง การทดแทนกระดูกส่วนที่สึกหรอก็จะเป็นไปได้ช้าด้วย หากร่างกายขาดแคลเซียมในปริมาณที่จำเป็นต่อการสร้างกระดูกก็จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน เมื่อแก่ตัวลง กระดูกก็จะเปราะบางและแตกหักง่ายหากถูกกระทบกระเทือนแม้ไม่รุนแรงก็ตาม เช่น การล้ม การกระแทก เป็นต้น
2.ฮอร์โมน
การลดระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ในเพศหญิงอย่างการเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนก็อาจทำให้กระดูกพรุนและเปราะบาง ส่วนในเพศชายจะมีความเสี่ยงเกิดโรคกระดูกพรุนเมื่อมีการผลิตฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone) น้อยลง
3.กรรมพันธุ์
บุคคลในครอบครัว เช่น ปู่ ยา ตา ยาย ถ้าท่านเหล่านั้นมีอาการของโรคกระดูกพรุนอย่างชัดเจน
โอกาสที่บุตรหลานจะมีอาการ เช่นกันนั้นสูงถึง 80% ส่วน 20% ที่เหลือนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะในการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกาย
4.ความผิดปกติในการทำงานของต่อมและอวัยวะต่าง ๆ
เช่น ต่อมไทรอยด์ ต่อมพาราไทรอยด์ ต่อมหมวกไต ไตและตับทำงานผิดปกติ เป็นต้น
5.โรคและการเจ็บป่วย
เช่น โรคที่เกี่ยวข้องกับตับ ไต และกระเพาะ ลำไส้อักเสบ โรคทางเดินอาหาร กรดไหลย้อน
โรคความผิดปกติด้านการกิน โรคภูมิแพ้ตัวเอง โรคแพ้กลูเตน โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคมะเร็งเม็ดเลือด โรคมะเร็งกระดูก เป็นต้น
6.พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน
การนั่งหรืออยู่ในอิริยาบถเดิม ๆ เป็นเวลานาน รวมทั้งการทำงานที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายอย่างหักโหมล้วนส่งผลต่อสุขภาพกระดูกทั้งสิ้น ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ได้สูง
7.ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ