UNC YG

อาการตะคริว กล้ามเนื้อกระตุก

อาการตะคริว กล้ามเนื้อกระตุก

อาการตะคริว กล้ามเนื้อกระตุก

จะเกิดอาการกระตุก สั่น เกร็งของเส้นใยกล้ามเนื้อหรือกล้ามเนื้อมัดเดี่ยวขนาดเล็กทันทีทันใด ส่วนมากมักจะเกิดขึ้นทีละจุด แต่ในบางครั้งอาจเกิดได้พร้อมกันทั่วร่างกาย หากอาการที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงมากก็อาจกระทบต่อการรับประทานอาหาร การพูด หรือการเดิน โดยทั่วไปกล้ามเนื้อกระตุกจะเกิดชั่วคราวและค่อย ๆ หายได้เองภายในไม่กี่วัน แต่ในกรณีที่มีอาการถี่มากขึ้น เป็นต่อเนื่อง หรือมีอาการอื่นร่วมด้วยในบริเวณที่เกิดการกระตุก เช่น รู้สึกเหน็บชา กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือกล้ามเนื้อดูฝ่อลง ควรไปพบแพทย์ เพื่อค้นหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างถูกวิธี เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคอื่นๆ

สาเหตุของอาการกล้ามเนื้อกระตุก

อาการกล้ามเนื้อกระตุกทั่วไปมักไม่เป็นอันตรายและมีสาเหตุมาจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น กล้ามเนื้อกระตุกหลังการออกกำลังกาย เนื่องมาจากกรดแลกติก (Lactic Acid) ซึ่งเป็นของเสียในกระบวนการเผาผลาญพลังงานถูกเก็บสะสมมากขึ้นในขณะการออกกำลัง ทำให้เกิดการกระตุกได้บ่อยในบริเวณแขน ขา และหลังการกระตุกของกล้ามเนื้อจากความเครียดและความวิตกกังวล ทำให้เกิดความผิดปกติของระบบประสาท (Nervous Ticks) สามารถเกิดได้กับทุกส่วนของร่างกายการได้รับคาเฟอีนและสารกระตุ้นอื่น ๆ มากเกิน ทำให้เกิดการกระตุกของกล้ามเนื้อได้ทุกส่วนของร่างกายการขาดสารอาหารและวิตามิน เช่น วิตามินดี วิตามินบี หรือแคลเซียม ส่วนใหญ่ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณเปลือกตา น่อง และมือกระตุกภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ส่งผลให้กล้ามเนื้อหดตัวและกระตุก มักเกิดกับกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ เช่น ขา แขน หรือลำตัวสารนิโคตินที่พบในบุหรี่และสารเสพติดประเภทอื่น ๆ จะทำให้กล้ามเนื้อขากระตุกได้ง่าย

การใช้ยาบางชนิด เช่น คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) ยาเม็ดฮอร์โมนเอสโตรเจน ก็อาจกระตุ้นให้เกิดการกระตุกของกล้ามเนื้อได้ง่ายในบริเวณมือ แขน หรือขา จึงควรแจ้งแพทย์ เพื่อขอให้เปลี่ยนยาชนิดใหม่หรือลดปริมาณความเข้มข้นของยาลงอย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางรายที่เกิดการกระตุกอยู่เป็นประจำอาจเป็นผลมาจากโรคหรือปัญหาความผิดปกติทางด้านระบบประสาท เช่น โรคกล้ามเนื้อเสื่อมหรือโรคกล้ามเนื้อเจริญผิดเพี้ยน (Muscular Dystrophy) โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Amyotrophic Lateral Sclerosis/Lou Gehrig’s Disease: ALS) โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA (Spinal Muscular Atrophy: SMA) หรือโรคไอแซค ซินโดรม (Isaac’s Syndrome)

การรักษาอาการกล้ามเนื้อกระตุก

อาการกล้ามเนื้อกระตุกทั่วไปมักไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา เพราะอาการจะค่อย ๆ ลดลงและหายไปเองภายใน 2-3 วัน แต่ในรายที่เกิดกล้ามเนื้อกระตุกมากอาจบรรเทาอาการให้ดีขึ้นด้วยการใช้ยา
ตัวอย่างกลุ่มยาที่ใช้รักษาอาการกล้ามเนื้อกระตุก
คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เช่น ยาเบต้าเมทาโซน ยาเพรดนิโซโลน
ยาคลายกล้ามเนื้อ (Muscle Relaxants) เช่น คาริโซโพรดอล ยาไซโคลเบนซาพรีน
ยาหย่อนกล้ามเนื้อ (Neuromuscular Blockers) เช่น โบทูลินัมท็อกซิน ชนิดเอ โบทูลินัมท็อกซิน ชนิดบี
ยาคลายเครียด (Tranquilizers) เช่น ยาโคลนาซีแพม  ภาวะแทรกซ้อนของอาการกล้ามเนื้อกระตุก

กล้ามเนื้อกระตุกเป็นอาการที่ไม่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนใด ๆ แต่สำหรับผู้ที่มีอาการบ่อยและปล่อยจนเรื้อรังโดยไม่หาสาเหตุและรักษาอาการให้หายขาดอาจทำให้โรคที่ซ่อนอยู่ไม่ได้รับการรักษา เช่น โรคลมชัก ภาวะเกลือแร่ต่ำ ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ในระยะยาวจากตัวโรคตามมา




การป้องกันอาการกล้ามเนื้อกระตุก

อาการกล้ามเนื้อกระตุกอาจป้องกันได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ แต่สามารถลดโอกาสและความเสี่ยงได้ด้วยการปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้ รับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ เน้นอาหารประเภทผัก ผลไม้ ธัญพืช โปรตีนจากเนื้อสัตว์ไม่ติดมันอย่างเนื้อไก่หรือเต้าหู้

นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง เพื่อช่วยให้ร่างกายและเส้นประสาทได้พักฟื้น
พยายามไม่เครียดด้วยการทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ หรือออกกำลังกาย
จำกัดปริมาณคาเฟอีนจากเครื่องดื่มหรืออาหารที่รับประทานเข้าไปให้อยู่ในระดับที่พอดีต่อวัน เพราะคาเฟอีนอาจกระตุ้นให้เกิดอาการกล้ามเนื้อกระตุกได้  ไม่ควรสูบบุหรี่ เพราะสารนิโคตินจัดเป็นตัวกระตุ้นที่อาจส่งผลต่อการทำงานของระบบประสาท และยังก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมา ผู้ที่รับประทานยาบางชนิดแล้วเกิดอาการกล้ามเนื้อกระตุก เช่น ยาในกลุ่มแอมเฟตามีน ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อขอให้เปลี่ยนยาเป็นชนิดอื่นทดแทน

ต้องการปรึกษาผู้เชียวชาญ Inbox คลิ๊ก : m.me/uncplus
โทร 086-492 2466
LINE@ : @uncplus(อย่าลืมใส่ @ นะคะ)
คลิ๊ก https://lin.ee/osgpiaa

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้